วันจันทร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

วิชา ฐานข้อมูลเบื้องต้น วิชา ฐานข้อมูลเบื้องต้น การบ้านบทที่ 3 ประจำวันที่ 17 พ.ย.53

1.การแบ่งสถาปัตยกรรมของฐานข้อมูลออกเป็น 3 ระดับ มีเพื่อวัตถุประสงค์ใดเป็นสำคัญ
ตอบ  เพื่อให้เกิดความเป็นอิสระของข้อมูล (Data Independence) คือในการเปลี่ยนแปลงข้อมูลในระดับที่สูงกว่า จะไม่มีผลกระทบการข้อมูลในระดับที่ต่ำกว่า


2.ความเป็นอิสระของข้อมูลมีบทบาทสำคัญอย่างไรต่อการจัดการฐานข้อมูล จงอธิบาย
ตอบ  การแบ่งระดับของข้อมูลรวมถึงการเชื่อมโยงของข้อมูล  ล้วนแต่เป็นจุดเด่นของฐานข้อมูล  ในด้านความเป็นอิสระของข้อมูล  ซึ่งแบ่งออกได้เป็น  2  ประเภท  คือ
1. ความเป็นอิสระของข้อมูลเชิงตรรกะ  (  Logical  Data  Independence  )
                   ความเป็นอิสระของข้อมูลเชิงตรรกะ    เป็นความอิสระของข้อมูลในระดับแนวคิด   (Conceptual  )     กับระดับภายนอก  (  External  Level  )  นั่นเอง   หากมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลในระดับแนวคิด   จะไม่มีผลต่อเค้าร่างในระดับภายนอก  หรือโปรแกรมประยุกต์ใช้งาน  หรือจะเป็นการปรับโครงสร้าง
2. ความเป็นอิสระในเชิงกายภาพ  (  Physical Data  Independence  )
                    ความเป็นอิสระในเชิงกายภาพ   เป็นความเป็นอิสระของข้อมูลภายใน  (  Internal  Level  )  กับระดับแนวคิด  (  Conceptual  Level  )  หรือระดับภายนอก    (  External  Level  )  เช่นการเพิ่มประสิทธิภาพการเรียกดูข้อมูลให้เร็วขึ้น  โดยการปรับปรุงเค้าร่างภายใน  โดยไม่กระทบถึงเค้าร่างแนวคิด  หรือเค้าร่างภายนอก


3. ปัญหาที่สำคัญของ   Hierarchial Model   คืออะไร และเหตุใด   Hierarchial Model   จึงไม่สามารถลดความซ้ำซ้อนของข้อมูลได้ทั้งหมด
ตอบ  มีโอกาสเกิดความซ้ำซ้อนมากที่สุดเมื่อเทียบกับระบบฐานข้อมูลแบบโครงสร้างอื่น
ขาดความสัมพันธ์ระหว่างแฟ้มข้อมูลในรูปเครือข่าย  มีความคล่องตัวน้อยกว่าโครงสร้างแบบอื่น ๆ เพราะการเรียกใช้ข้อมูลต้องผ่านทางต้นกำเนิด (root) เสมอ ถ้าต้องการค้นหาข้อมูลซึ่งปรากฏในระดับล่าง ๆ แล้วจะต้องค้นหาทั้งแฟ้ม


4.เหตุใด Network Model ซึ่งสามารถแก้ปัญหาความซ้ำซ้อนของข้อมูลได้จึงไม่เหมาะกับการนำมาใช้งาน
ตอบ  1. ความสัมพันธ์ข้อมูลที่เชื่อมโยงกันไปมาทำให้ยากต่อการใช้งาน
          2.ผู้ใช้ต้องเข้าใจโครงสร้างของฐานข้อมูล
          3.เหมาะสำหรับโปรแกรมเมอร์ที่คุ้นเคย ไม่เหมาะสำหรับผู้ใช้งานทั่วไป
          4.มีค่าใช้จ่ายและสิ้นเปลืองพื้นที่ในหน่วยความจำเพราะจะเสียพื้นที่ในอุปกรณ์เก็บข้อมูลสำหรับตัวบ่งชี้มาก
          5.โครงสร้างแบบเครือข่ายเป็นโครงสร้างที่ง่ายไม่ซับซ้อนเนื่องจากไม่ต้องอ่านแฟ้มข้อมูลที่เป็นต้นกำเนิดก่อน  จึงทำให้ป้องกันความลับของข้อมูลได้ยาก


5.สิ่งที่ทำให้ Relational Model ได้รับความนิยมอย่างมากคืออะไร จงอธิบาย
ตอบ    1.เหมาะกับงานที่เลือกดูข้อมูลแบบมีเงื่อนไขหลายคีย์ฟิลด์ข้อมูล
            2.ป้องกัน ข้อมูลถูกทำลายหรือแก้ไขได้ดี เนื่องจากโครงสร้างแบบสัมพันธ์นี้ผู้ใช้จะไม่ทราบว่าการเก็บข้อมูลในฐาน ข้อมูลอย่างแท้จริงเป็นอย่างไร จึงสามารถป้องกันข้อมูลถูกทำลายหรือถูกแก้ไขได้ดี
            3.การเลือกดูข้อมูลทำได้ง่าย มีความซับซ้อนของข้อมูลระหว่างแฟ้มต่าง ๆ น้อยมาก อาจมีการฝึกฝนเพียงเล็กน้อยก็สามารถใช้ทำงานได้
            4.เมื่อผู้ใช้ต้องการข้อมูลในตารางจะใช้วิธีเปรียบเทียบค่าของข้อมูลแทน โดยไม่ต้องรู้ว่าข้อมูลนั้นเก็บอย่างไร โดยแค่บอกกับ DBMS ว่าต้องการข้อมูลจากตารางใด ที่มีค่าในคอลัมน์ใด เป็นต้น
             5.ง่ายในการทำความเข้าใจ
            6.ได้รับความนิยมมาจนถึงปัจจุบัน

วันอาทิตย์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

อุปกรณ์เครือข่าย


          


 
การ์ดแลน

            เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการรับส่งข้อมูลจากเครื่องคอมฯเครื่องหนึ่งไปสู่อีกเครื่องโดยผ่านสายแลน การ์ดแลนเป็นอุปกรณ์ที่สามารถต่อพ่วงกับพอร์ตแทบทุกชนิดของเครื่องคอมพิวเตอร์ ไม่ว่าจะเป็น ISA, PCI, USB, Parallel, PCMCIA และ Compact Flash ซึ่งที่เห็นใช้กันมากที่สุดก็จะเป็นแบบ PCI เพราะถ้าเทียบราคากับประสิทธิภาพแล้วถือว่าค่อนข้างถูก มีหลายราคา ตั้งแต่ไม่กี่ร้อยบาทจนถึงหลักพัน ส่วนแบบ USB, Parallel, PCMCIA ส่วนใหญ่จะเห็นใช้กันมากกับเครื่องโน๊ตบุ๊ค เพราะก็อย่างที่ทราบกันอยู่ว่าการติดอุปกรณ์ลงในพอร์ตภายใน ของเครื่องโน๊ตบุ๊คเป็นเรื่องยาก ดังนั้นการต่ออุปกรณ์ต่อพ่วงจึงต้องอาศัยพอร์ตภายนอกดังที่กล่าวมา

 ฮับ           

           เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เสมือนกับชุมทางข้อมูล มีหน้าที่เป็นตัวกลาง คอยส่งข้อมูลให้คอมพิวเตอร์ในเครือข่าย ซึ่งลักษณะการทำงาน ให้ลองนึกถึงภาพการออกอากาศโทรทัศน์ ที่เมื่อมีเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่งกำลังส่งข้อมูล เครื่องที่อยู่บนเครือข่ายทุกเครื่องจะได้รับข้อมูลเหมือนๆ กันทุกเครื่อง ซึ่งเมื่อแต่ละเครื่องได้รับข้อมูลก็จะดูว่า เป็นข้อมูลของตัวเองไหม ถ้าใช่ก็จะรับเข้ามาประมวลผล ถ้าไม่ใช่ก็ไม่รับเข้ามา ซึ่งจากากรทำงานในลักษณะนี้ ในเครือข่ายที่ใช้ฮับเป็นตัวกระจ่ายสัญญาณ จะสามารถส่งข้อมูลสู่เครือข่ายได้ทีละเครื่อง ถ้ามีคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่งกำลังส่งข้อมูล เครื่องอื่นๆ ก็ต้องรอให้การส่งข้อมูลเสร็จสิ้นเสียก่อน เมื่อช่องสัญญาณว่าง จึงจะสามารถส่งข้อมูลได้

สวิตซ์

           สวิตซ์จะทำหน้าที่คล้ายฮับ แต่จะเก่งกว่าตรงที่เมื่อมีการร้องขอโดยเครื่องคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายเพื่อส่งข้อมูล สวิตซ์ก็จะสร้างวงจรเสมือนขึ้นมาให้เครื่องสองเครื่องนี้ส่งข้อมูลถึงกัน ซึ่งช่องสัญญาณกลางก็จะว่างไว้รองรับการร้องขอส่งข้อมูลจากเครื่องอื่นๆ ต่อไป ถ้านึกภาพไม่ออกให้นึกถึงการทำงานของสายโทรศัพท์ ที่หลายๆ คู่สายสามารถพูดคุยพร้อมๆ กันได้ จากคุณลักษณะนี้ทำให้สามารถส่งข้อมูลได้เร็วกว่าฮับ เพราะแทบจะไม่มีการรอใช้ช่องสัญญาณเกิดขึ้นในเครือข่ายที่ใช้สวิตซ์เป็นตัวกระจายสัญญาณ และแน่นอนราคาของสวิตซ์ย่อมแพงกว่าฮับ

โมเด็ม

           เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แปลงสัญญาณให้สามารถส่งผ่านทางสายโทรศัพท์ สายเช่า และสายไฟเบอร์ออฟติก แล้วแต่ประเภทของโมเด็ม ทำให้สามารถส่งสัญญาณไปได้ไกล ยกตัวอย่างเช่น การที่คุณใช้โมเด็มหมุนโทรศัพท์หาไอเอสพีที่อยู่ห่างออกไปหลายกิโลเมตร เพื่อจะเข้าสู่ระบบอินเตอร์เน็ต

เราเตอร์

           เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เลือกเส้นทางในการส่งผ่านข้อมูล ทำหน้าที่ในการหาเส้นทางที่ดีที่สุดในขณะนั้น เพื่อลดความเสี่ยงจากการล้มเหลวในการส่งข้อมูล และเราเตอร์ยังสามารถช่วยเชื่อมเครือข่ายสองเครือข่าย หรือมากกว่าเข้าด้วยกัน เพราะเราเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่สามารถทำงานบนเครือข่ายอย่างน้อยสองเครือข่ายขึ้นไป 

สายแลน

           เมื่อมีวงแลนก็ต้องมีสายแลน สายแลนมีหลายแบบไม่ว่าจะเป็นสายโคแอคเชียน ยูทีพี เอสทีพี และ ไฟเบอร์ออปติก หรือแม้กระทั่งแบบที่ไม่ใช้สาย (Wireless LAN ) และแบบที่เห็นได้บ่อยที่สุดในปัจจุบันที่นิยมใช้กัน ก็ได้แก่สายแบบ ยูทีพี ที่ใช้กับหัวต่อแบบ RJ 45 ซึ่งจะคล้ายๆกับหัวต่อของสายโทรศัพท์ ( ของโทรศัพท์เป็นแบบ RJ11 ) ซึ่งสายประเภทนี้จะไม่มีการ ชีลด์ ป้องกันสัญญาณรบกวน แต่จะใช้วิธีตีเกลียวสายเป็นคู่ๆ 4 คู่ ป้องกันสัญญาณรบกวน อีกแบบก็คือการใช้วิธีส่งสัญญาณด้วยคลื่นวิทยุย่านความถี่สูงบางแบบก็ใช้อินฟราเรด จุดเด่นที่เห็นได้ชัดคือเมื่อไม่ต้องเดินสายทำให้สามารถติดตั้งได้ง่าย ย้ายก็สะดวก แต่ข้อด้อยก็คือปัญหาจากการถูกรบกวน และสัญญาณถูกบัง แถมความเร็วในการส่งข้อมูลยังด้อยกว่าระบบแลนแบบใช้สายอยู่ ราคาก็สูงกว่า และที่กำลังมาแรงในขณะนี้คือเทคโนโลยีแบบ Ethernet over VDSL น่าสนใจกันขึ้นมาบ้างแล้วไหมครับ ถ้าสนใจเราก็ไปลุยกันต่อเลยครับ ในการเชื่อมต่อระบบเครือข่ายที่ใช้ๆกันก็มีอยู่ 2 แบบ คือ แบบระยะใกล้ และแบบระยะไกล เอาเป็นว่าเรามาเริ่มต้นการเลือกใช้อุปกรณ์ระบบเครือข่ายแบบระยะใกล้กันก่อนครับ

IEE 802.11

มาตรฐาน IEEE 802.11 ซึ่งได้รับการตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อปีพ.ศ. 2540 โดย IEEE (The Institute of Electronics and Electrical Engineers) และเป็นเทคโนโลยีสำหรับ WLAN ที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายมากที่สุด คือข้อกำหนด (Specfication) สำหรับอุปกรณ์ WLAN ในส่วนของ Physical (PHY) Layer และ Media Access Control (MAC) Layer โดยในส่วนของ PHY Layer มาตรฐาน IEEE 802.11 ได้กำหนดให้อุปกรณ์มีความสามารถในการรับส่งข้อมูลด้วยความเร็ว 1, 2, 5.5, 11 และ 54 Mbps โดยมีสื่อ 3 ประเภทให้เลือกใช้ได้แก่ คลื่นวิทยุที่ความถี่สาธารณะ 2.4 และ 5 GHz, และ อินฟราเรด (Infarred) (1 และ 2 Mbps เท่านั้น) สำหรับในส่วนของ MAC Layer มาตรฐาน IEEE 802.11 ได้กำหนดให้มีกลไกการทำงานที่เรียกว่า CSMA/CA (Carrier Sense Multiple Access/Collision Avoidance) ซึ่งมีความคล้ายคลึงกับหลักการ CSMA/CD (Collision Detection) ของมาตรฐาน IEEE 802.3 Ethernet ซึ่งเป็นที่นิยมใช้กันทั่วไปในเครือข่าย LAN แบบใช้สายนำสัญญาณ นอกจากนี้ในมาตรฐาน IEEE802.11 ยังกำหนดให้มีทางเลือกสำหรับสร้างความปลอดภัยให้กับเครือข่าย IEEE 802.11 WLAN โดยกลไกการเข้ารหัสข้อมูล (Encryption) และการตรวจสอบผู้ใช้ (Authentication) ที่มีชื่อเรียกว่า WEP (Wired Equivalent Privacy) ด้วย

IEEE 802.11a
เป็นมาตรฐานที่ได้รับการตีพิมพ์และเผยแพร่เมื่อปี พ.ศ. 2542 โดยใช้เทคโนโลยี OFDM (Orthogonal Frequency Division Multiplexing) เพื่อพัฒนาให้ผลิตภัณฑ์ไร้สายมีความสามารถในการ รับส่งข้อมูลด้วยอัตราความเร็วสูงสุด 54 เมกะบิตต่อวินาที โดยใช้คลื่นวิทยุย่านความถี่ 5 กิ กะเฮิรตซ์ ซึ่งเป็นย่านความถี่ที่ไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้งานโดย ทั่วไปในประเทศไทย เนื่องจากสงวนไว้สำหรับกิจการทางด้านดาวเทียม ข้อเสียของผลิตภัณฑ์มาตรฐาน IEEE 802.11a ก็คือมีรัศมีการใช้งานในระยะสั้นและมีราคาแพง ดังนั้นผลิตภัณฑ์ไร้สายมาตรฐาน IEEE 802.11a จึงได้รับความนิยมน้อย

IEEE 802.11b
เป็นมาตรฐานที่ถูกตีพิมพ์และเผยแพร่ออกมาพร้อมกับมาตรฐาน IEEE 802.11a เมื่อปี พ.ศ. 2542 ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีและได้รับความนิยมในการใช้งานอย่างแพร่หลายมากที่สุด ผลิตภัณฑ์ที่ออกแบบมาให้รองรับมาตรฐาน IEEE 802.11b ใช้เทคโนโลยีที่เรียกว่า CCK (Complimentary Code Keying) ร่วมกับเทคโนโลยี DSSS (Direct Sequence Spread Spectrum) เพื่อให้สามารถรับส่งข้อมูลได้ด้วยอัตราความเร็วสูงสุดที่ 11 เมกะบิตต่อวินาที โดยใช้คลื่นสัญญาณวิทยุย่านความถี่ 2.4 กิ กะเฮิรตซ์ ซึ่งเป็นย่านความถี่ที่อนุญาตให้ใช้งานในแบบสาธารณะ ทางด้านวิทยาศาสตร์ อุตสาหกรรม และการแพทย์ โดยผลิตภัณฑ์ที่ใช้ความถี่ย่านนี้มีหลายชนิด ทั้ง ผลิตภัณฑ์ที่รองรับเทคโนโลยี Bluetooth, โทรศัพท์ไร้สายและเตาไมโครเวฟ จึงทำให้การใช้งานนั้นมีปัญหา ในเรื่องของสัญญาณรบกวนของผลิตภัณฑ์เหล่านี้ ข้อดีของมาตรฐาน IEEE 802.11b ก็คือ สนับสนุนการใช้งาน เป็นบริเวณกว้างกว่ามาตรฐาน IEEE 802.11a ผลิตภัณฑ์มาตรฐาน IEEE 802.11b เป็นที่รู้จักในเครื่องหมายการค้า Wi-Fi ซึ่งกำหนดขึ้นโดย WECA (Wireless Ethernet Compatability Alliance) โดยผลิตภัณฑ์ที่ได้รับเครื่องหมาย Wi-Fi ได้ผ่านการตรวจสอบและรับรองว่าเป็นไปตาม ข้อกำหนดของมาตรฐาน IEEE 802.11b ซึ่งสามารถ ใช้งานร่วมกันกับผลิตภัณฑ์ของผู้ผลิตรายอื่นๆ ได้

IEEE 802.11g
เป็นมาตรฐานที่นิยมใช้งานกันมากในปัจจุบันและได้เข้ามาทดแทนผลิตภัณฑ์ที่รองรับมาตรฐาน IEEE 802.11b เนื่องจากสนับสนุนอัตราความเร็วของ การรับส่งข้อมูลในระดับ 54 เมกะบิตต่อวินาที โดยใช้เทคโนโลยี OFDM บนคลื่นสัญญาณวิทยุย่านความถี่ 2.4 กิกะเฮิรตซ์ และให้รัศมีการทำงานที่มากกว่า IEEE 802.11a พร้อมความสามารถในการใช้งานร่วมกันกับมาตรฐาน IEEE 802.11b ได้ (Backward-Compatible) 

IEEE 802.11n
เป็นมาตรฐานของผลิตภัณฑ์เครือข่ายไร้สายที่คาดหมายกันว่า จะเข้ามาแทนที่มาตรฐาน IEEE 802.11a, IEEE 802.11b และ IEEE 802.11g ที่ใช้งานกันอยู่ในปัจจุบัน โดยให้อัตราความเร็วในการรับส่งข้อมูลในระดับ 100 เมกะบิตต่อวินาที  

วันเสาร์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

Topology

รูปแบบของการเชื่อมโยงเครือข่าย หรือโทโปโลยี (LAN Topology)

โทโปโลยีคือลักษณะทางกายภาพ (ภายนอก) ของระบบเครือข่าย ซึ่งหมายถึง ลักษณะของการเชื่อมโยงสายสื่อสารเข้ากับอุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์และเครื่องคอมพิวเตอร์ ภายในเครือข่ายด้วยกันนั่นเอง โทโปโลยีของเครือข่าย LAN แต่ละแบบมีความเหมาะสมในการใช้งาน แตกต่างกันออกไป การนำไปใช้จึงมีความจำเป็นที่เราจะต้องทำการศึกษาลักษณะและคุณสมบัติ ข้อดีและข้อเสียของโทโปโลยีแต่ละแบบ เพื่อนำไปใช้ในการออกแบบพิจารณาเครือข่าย ให้เหมาะสมกับการใช้งาน รูปแบบของโทโปโลยี ของเครือข่ายหลัก ๆ มีดังต่อไปนี้



1.โทโปโลยีแบบบัส (BUS)
เป็นรูปแบบที่ เครื่องคอมพิวเตอร์จะถูกเชื่อมต่อกันโดยผ่ายสายสัญญาณแกนหลัก ที่เรียกว่า BUS หรือ แบ็คโบน (Backbone) คือ สายรับส่งสัญญาณข้อมูลหลัก ใช้เป็นทางเดินข้อมูลของทุกเครื่องภายในระบบเครือข่าย และจะมีสายแยกย่อยออกไปในแต่ละจุด เพื่อเชื่อมต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ ซึ่งเรียกว่าโหนด (Node) ข้อมูลจากโหนดผู้ส่งจะถูกส่งเข้าสู่สายบัสในรูปของแพ็กเกจ ซึ่งแต่ละแพ็กเกจจะประกอบไปด้วยข้อมูลของผู้ส่ง, ผู้รับ และข้อมูลที่จะส่ง การสื่อสารภายในสายบัสจะเป็นแบบ 2 ทิศทางแยกไปยังปลายทั้ง 2 ด้านของ บัส โดยตรงปลายทั้ง 2 ด้านของบัส จะมีเทอร์มิเนเตอร์ (Terminator) ทำหน้าที่ลบล้างสัญญาณที่ส่งมาถึง เพื่อป้องกันไม่ให้สัญญาณข้อมูลนั้นสะท้อนกลับ เข้ามายังบัสอีก เพื่อเป็นการป้องกันการชนกันของข้อมูลอื่น ๆ ที่เดินทางอยู่บนบัสในขณะนั้น
สัญญาณข้อมูลจากโหนดผู้ส่งเมื่อเข้าสู่บัส ข้อมูลจะไหลผ่านไปยังปลายทั้ง 2 ด้านของบัส แต่ละโหนดที่เชื่อมต่อเข้ากับบัส จะคอยตรวจดูว่า ตำแหน่งปลายทางที่มากับแพ็กเกจข้อมูลนั้นตรงกับตำแหน่งของตนหรือไม่ ถ้าตรง ก็จะรับข้อมูลนั้นเข้ามาสู่โหนด ตน แต่ถ้าไม่ใช่ ก็จะปล่อยให้สัญญาณข้อมูลนั้นผ่านไป จะเห็นว่าทุก ๆ โหนดภายในเครือข่ายแบบ BUS นั้นสามารถรับรู้สัญญาณข้อมูลได้ แต่จะมีเพียงโหนดปลายทางเพียงโหนดเดียวเท่านั้นที่จะรับข้อมูลนั้นไปได้ 


2.โทโปโลยีแบบวงแหวน (RING)
เป็นรูปแบบที่ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในระบบเครือข่าย ทั้งเครื่องที่เป็นผู้ให้บริการ( Server) และ เครื่องที่เป็นผู้ขอใช้บริการ(Client) ทุกเครื่องถูกเชื่อมต่อกันเป็นวงกลม ข้อมูลข่าวสารที่ส่งระหว่างกัน จะไหลวนอยู่ในเครือข่ายไปใน ทิศทางเดียวกัน โดยไม่มีจุดปลายหรือเทอร์มิเนเตอร์เช่นเดียวกับเครือข่ายแบบ BUS ในแต่ละโหนดหรือแต่ละเครื่อง จะมีรีพีตเตอร์ (Repeater) ประจำแต่ละเครื่อง 1 ตัว ซึ่งจะทำหน้าที่เพิ่มเติมข้อมูลที่จำเป็นต่อการติดต่อสื่อสารเข้าในส่วนหัวของแพ็กเกจที่ส่ง และตรวจสอบข้อมูลจากส่วนหัวของ Packet ที่ส่งมาถึง ว่าเป็นข้อมูลของตนหรือไม่ แต่ถ้าไม่ใช่ก็จะปล่อยข้อมูลนั้นไปยัง Repeater ของเครื่องถัดไป
 


3.โทโปโลยีแบบดาว (STAR)
เป็นรูปแบบที่ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมต่อเข้าด้วยกันในเครือข่าย จะต้องเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ตัวกลางตัวหนึ่งที่เรียกว่า ฮับ (HUB) หรือเครื่อง ๆ หนึ่ง ซึ่งทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางของการเชื่อมต่อสายสัญญาญที่มาจากเครื่องต่าง ๆ ในเครือข่าย และควบคุมเส้นทางการสื่อสาร ทั้งหมด เมื่อมีเครื่องที่ต้องการส่งข้อมูลไปยังเครื่องอื่น ๆ ที่ต้องการในเครือข่าย เครื่องนั้นก็จะต้องส่งข้อมูลมายัง HUB หรือเครื่องศูนย์กลางก่อน แล้ว HUB ก็จะทำหน้าที่กระจายข้อมูลนั้นไปในเครือข่ายต่อไป 
4.โทโปโลยีแบบ Hybrid
เป็นรูปแบบใหม่ ที่เกิดจากการผสมผสานกันของโทโปโลยีแบบ STAR , BUS , RING เข้าด้วยกัน เพื่อเป็นการลดข้อเสียของรูปแบบที่กล่าวมา และเพิ่มข้อดี ขึ้นมา มักจะนำมาใช้กับระบบ WAN (Wide Area Network) มาก ซึ่งการเชื่อมต่อกันของแต่ละรูปแบบนั้น ต้องใช้ตัวเชื่อมสัญญาญเข้ามาเป็นตัวเชื่อม ตัวนั้นก็คือ Router เป็นตัวเชื่อมการติดต่อกัน

5.โทโปโลยีแบบ MESH
เป็นรูปแบบที่ถือว่า สามารถป้องกันการผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นกับระบบได้ดีที่สุด เป็นรูปแบบที่ใช้วิธีการเดินสายของแต่เครื่อง ไปเชื่อมการติดต่อกับทุกเครื่องในระบบเครือข่าย คือเครื่องทุกเครื่องในระบบเครือข่ายนี้ ต้องมีสายไปเชื่อมกับทุก ๆ เครื่อง ระบบนี้ยากต่อการเดินสายและมีราคาแพง จึงมีค่อยมีผู้นิยมมากนัก

IEEE 802.5

IEEE802.5
                   เป็นมาตรฐานโปรโตคอลแบบ Token Passing ของเครือข่าย LAN แบบ Token-Ring
สายสื่อสารมาตรฐาน IEEE 802.5 คือสายเกลียวคู่แบบมีชีลด์ซึ่งมี 2 อัตราเร็วของการส่งข้อมูลคือ 1 และ 4 Mbps สำหรับเครือข่าย LAN แบบ Token-Ring และยังมีอีกหนึ่งมาตราฐานที่ใช้ร่วมกันคือมาตรฐานของ IBM ซึ่งมีสายสื่อสารให้เลือก 2 แบบ คือ สายเกลียวคู่แบบไม่มีชีลด์ อัตราเร็ว 1 และ 4 Mbps และสายเกลียวคู่ แบบมีชีลด์ อัตราเร็ว 16 Mbps
  ตาราง 8 สายสื่อสารมาตราฐาน IEEE 802.5 (Token Passing)
 
ชนิดของสาย
สื่อสาร
เทคนิคการส่ง
สัญญาณ
อัตราเร็วข้อมูล
(Mbps)
จำนวนรีพิตเตอร์
สูงสุด
ระยะทางสูงสุด
ระหว่างรีพิตเตอร์
IEEE 802.5 สายเกลียวคู่มีชีลด์ แมนเชสเตอร์แบบ
Differential
1,4
250
ไม่ระบุ
IBM สายเกลียวคู่มีชีลด์ แมนเชสเตอร์แบบ
Differential
16
250
ไม่ระบุ
IBM สายเกลียวคู่ไม่มี
ชีลด์
แมนเชสเตอร์แบบ
Differential
1,4
72
ไม่ระบุ

IEEE 802.3

IEEE 802.3 และ Ethernet ระบบเครือข่าย Ethernet ถูกพัฒนาขึ้นโดยบริษัทซีรอกซ์ในปลายทศวรรษ 1970 และในปี 1980 บริษัท Digital Equipment , Intel และ Xeror ได้ร่วมกันออกระบบ Ethernet I ซึ่งใช้งานกับสาย และต่อมาในปี ก็ได้ทำการพัฒนาเป็น Ethernet II ซึ่งเป็นระบบเครือข่ายที่ถูกใช้งานมากที่สุดแบบหนึ่ง จากนั้นองค์กรมาตรฐาน จึงได้ออกข้อกำหนดมาตรฐาน IEEE 802.3 โดยใช้ Ethernet II เป็นรากฐาน โดยมีจุดแตกต่างจาก เล็กน้อย แต่หลักการใหญ่ ๆ จะคล้ายคลึงกัน คือ ใช้ Access Method และ CSMA/CD และใช้ Topology แบบ Bus หรือ Star (Ethernet II จะเป็น Bus เท่านั้น)
นอกจากมาตรฐาน IEEE 802.3 ยังได้ร่างมาตรฐานการใช้สื่อในระดับกายภาพ (Physical) แบบต่าง ๆ ทำให้สามารถใช้สายเคเบิลในระดับการยภาพแบบได้หลายแบบ โดยไม่ต้องเปลี่ยสในส่วยของ Data link ขึ้นไป เช่น 10Base5 , 10BaseT โดย "10" หมายถึงความเร็ว 10 Mbps ส่วน "Baseband" หมายถึง ("Borad" คือ Boardband) และในส่วนสุดท้ายนั้น ในช่วงแรก "5" หมายวถึงระยะไกลสุดที่สามารถเชื่อมต่อมีหน่วยเป็นเมตรคูณร้อย ในที่นี้คือ 500 เมตร แต่ต่อมาได้มีการใช้ความหมายของส่วสนนี้เพิ่มเติมเป็นชนิดของสาย เช่น "T" หมายถึง ใช้สาย Twisted Pair และ "F" หมายถึง Fiber
ในปัจจบัน ยังมีมาตรฐาน IEEE 802.3 ซึ่งได้ขยายครอบคลุมความเร็วระดับ 100 Mbps ด้วย นั่นคือ มาตรฐาน Fast Ethernet โดยจะประกอบด้วย 100BaseTX ซึ่งเป็นสาย UTP Category 5 เชื่อมต่อได้ไกล 100 เมตรต่อเซกเมนต์ และ 100BaseFX ซึ่งใช้สาย เชื่อมต่อได้ไกลถึง 412 เมตรต่อเซกเมนต์ นอกจากนี้ ทาง IEEE ยังกำลังพิจารณาร่างมาตรฐาน 802.3z หรือ Gigabit Ethernet โดยการทำการขยายความเร้ซในการเชื่อต่อขึ้นไปถึง 1000 Mbps (1 Gigabit/seconds)

เครื่อข่ายข้อมูล

Skype (สไคป์) คือ โปรแกรมที่ใช้ติดต่อสื่อสารกันระหว่างผ่านอินเทอร์เน็ตด้วยข้อความพร้อม เสียงและภาพจากกล้อง Webcam โดยจะเป็นการสื่อสารกันแบบ Real Time ลักษณะจะคล้าย Windows Live Messenger


หรือที่เราเรียก MSN แต่จะมีข้อดีเหนือกว่ามากในเรื่องของคุณภาพของภาพ และเสียง ซึ่ง Skype จะให้สัญญาณที่คมชัดกว่าอย่างเห็นได้ชัด โดยส่วนใหญ่แล้ว Skype จะนำมาใช้ทำ Video Conference เพื่อสนทนากันแบบตัวต่อตัว หรือประชุมสายพร้อมกันหลายคนผ่านอิน เทอร์เน็ตได้ทั่วโลก โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ เพียงคุณมีสัญญาณอินเทอร์เน็ตอยู่แล้ว การเชื่อมต่อจะเป็นแบบ peer-to-peer voice over Internet protocol (VoIP) จุดเด่นของ Skype คือ การใช้งานเป็นโทรศัพท์ ที่โทรติดต่อผู้อื่นที่ไม่ได้ใช้ Skype ซึ่งโทรไปได้ทั้งเบอร์มือถือ และ เบอร์พื้นฐานทั่วไปได้ทั่วโลก โดยเสียค่าใช้จ่ายเป็นแบบเหมาจ่าย เป็นเดือน ประมาณ 300 บาท ซึ่งถือว่าถูกมากๆ โทรไปได้ทุกเครือข่าย

นอกจากนี้ Skype ยังสามารถช่วยให้ผู้ใช้บริการสามารถทำการรับสายโทรเข้าจากโทรศัพท์พื้นฐาน (SkypeIn) เข้ามายัง Skype และสามารถใช้ Skype โทรศัพท์ออกไปยังโทรศัพท์พื้นฐานทั่วโลก (SkypeOut)



ฐานข้อมูลกับการดำเนินชีวิตประจำวัน


ฐานข้อมูลเป็นเครื่องมือประเภทหนึ่งที่ใช้จัดเก็บ และบริหารข้อมูล ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นโปรแกรมคอมเตอร์เท่านั้น การจัดเก็บข้อมูลโดยใช้กระดาษหรือวัสดุอุปกรณ์อื่นๆ ก็ถือได้ว่าเป็นฐานข้อมูลแบบหนึ่งได้เช่นกัน
ในระบบคอมพิวเตอร์ฐานข้อมูลถือได้ว่าเป็นเครื่องมือที่มีบทบาทมากเป็น พิเศษ เพราะเป็นที่ที่ใช้เก็บข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ไม่จำกัดว่าจะเป็นข้อมูลประเภทใด เอาไปใช้ทำอะไร หรือเก็บไว้ยังไง ขอเพียงแต่ว่า เราสามารถเรียกข้อมูลที่เราเก็บไว้ได้ตามต้องการ

มี โปรแกรมหลายประเภทที่ถือได้ว่าฐานข้อมูลเป็นส่วนประกอบหลักเลยทีเดียว เช่น โปรแกรมทำบัญชีรายรับรายจ่าย โปรแกรมบริหารข้อมูลในโกดังเก็บของ โปรแกรมจองตั๋วเครื่องบิน โปรแกรมต่อสายผู้ใช้ในระบบโทรศัพท์ โปรแกรมบริหารบัญชีธนาคาร โปรแกรมวิเคราะห์ข้อมูลในตลาดหุ้น โปรแกรมบริหารข้อมูลผู้ป่วยตามโรงพยาบาล โปรแกรมประเภท Personal Information Menagement และอื่นๆอีกมากมาย  

วันศุกร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ลูกแรดเตรียมพร้อมล่าเหยื่อ

การบรรยายครั้งที่ 1 วันที่ 23 มิ.ย. 53
บรรยายโดย อ.สาระ มีผลกิจ

ได้ รับทราบถึงประวัติความเป็นมาก่อนจะมาเป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ได้เคยเป็นพระราชวังมาก่อน ที่จะเปลี่ยนมาเป็นโรงเรียนการเรือนเป็นโรงเรียนหญิงล่วน ต่อมาได้กลายมาเป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต


การบรรยายครั้งที่ 2 วันที่ 14 ก.ค. 53 การพัฒนาบุคลิกภาพและการทำธนาคารความดี
บรรยายโดย ผ.ศ.โรจนา  ศุขะพันธ์

ได้ รู้จักการพัฒนาบุคลิกภาพในการปฏิบัติตนก่อนเข้าสัมภาษณ์เข้าทำงาน การอบรมเรื่องการทำธนาคารความดีเพื่อส่งเสริมการพัฒนาให้รู้จักการมั่นทำ ความดี

ความหมายของบุคลิกภาพ คือลักษณะพิเศษของแต่ละบุคคล อันทำให้บุคคลนั้นแต่ต่างจากบุคคลอื่นและบุคลิกภาพสามารถปรับปรุงได้

คุณลักษณะที่ดีของนักศึกษา
  1. บุคลิกดี
  2. มีน้ำใจ
  3. ใฝ่หาความรู้
  4. เชิดชูองค์การ
  5. สมานสามัคคี


การบรรยายครั้งที่ 3 วันที่ 28 ก.ค. 53 การบริหารการเงินส่วนบุคคล
บรรยายโดย คุณกษม ภูติจินดานันท์

การ เข้ารับฟังการบรรยายเรื่องการทำบัญชีรายรับรายจ่ายเพื่อประเมินการใช้จ่าย ของตน จะได้ประหยัดค่าใช้จ่ายที่จำเป็นรู้จักการเก็บออมทรัพย์เพื่อเป็นเงินฉุก เฉินไว้ใช้ในยามจำเป็น และเป็นการคิดตัดสินวางแผนการใช้เงินในอนาคตเพื่อการลงทุนต่างๆ
การ เงินส่วนบุคคลเริ่มจากที่ตัวเรา ครอบครัว บริษัท  มีความคิดในแง่บวก มองโลกในแง่ดี ตั้งเป้าหมาย จะทำให้เราสามารถวางแผนการเงินในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ

หลักการมีเงิน
  • ลดหรือตัดรายจ่ายที่ต้องการ ให้เหลือแต่ที่จำเป็น
  • เพิ่มรายได้
  • เก็บก่อนใช้

การบรรยายครั้งที่ 4 วันที่ 25 ส.ค. 53 ภาษาไทยที่ใช้ในชีวิตประจำวัน
บรรยายโดย อ.ปรีชา รวงลือ

ภาษาไทยในปัจจุบันในโลกของการสื่อสารไร้พรมแดนควรใช้ภาษาให้เหมาะสมและถูกต้อง การเขียนคัดไทย ก-ฮ การเขียนและใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้อง


การบรรยายครั้งที่ 5 วันที่ 1 ก.ย. 53 จรรยาบรรวิชาชีพกับธรรมะ
บรรยยายโดย หลวงปู่พุทธะอิสระ วัดอ้อน้อย
การ ประพฤติที่ถูกต้องในการทำงาน ปฏิบัติงานในหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ไม่คดโกงผู้อื่นทำงานอย่างมีจริยธรรม ใช้ธรรมะเข้ากับการทำงานร่วมกับผู้อื่น

วิชามนุษย์
  • ปฏิบัติต่อหน้าที่
  • ความเกรงกลัวต่อบาป
  • ความกตัญญูและความทดทน
งานจะสำเร็จได้เมื่อลงมือทำด้วยวิธีอันเลศ

วันพฤหัสบดีที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2553

บุคลิกภาพสไตล์ BIZCOM

   บุคลิกภาพที่ดี เริ่มต้นที่การแต่งตัวให้สุภาพเรียบร้อยเป็นพื้นฐานสำคัญในเริ่มต้นที่ดี เป็นการสร้างความประทับใจครั้งแรกให้แก่ผู้พบเห็น เกิดความรู้สึกที่ดีต่อเรา การแต่งกายควรแต่งให้สุภาพเหมาะสมถูกการะเทศะเสื้อใส่ในกางเกงผูกเนคไทเรียบร้อย ไม่เหยียบส้นรองเท้า
  ตามด้วยมารยาทการพูดจาควรมีหางเสียง ไม่พูดคำหยาบคาย การว่างตัวให้เหมาะสมตามสถานการณ์ มีความอดกลั้นต่ออารมณ์ที่เกิดขึ้น ให้เกียรติผู้อื่นหากปฏิบัติตามได้ตามที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ได้เพียงเท่านี้เราก็จะเป็นที่ชื่นชอบของผู้อื่น นี่แหละคือบุคลกภาพสไตล์ BIZCOM

ประวัติส่วนตัว

ชื่อ นายธงชัย อนันต์คูศรี ชื่อเล่น ซ้ง

เกิดเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2533 อายุ 20 ปี
ที่อยู่ 100/529 ซ.44 ม.5 ถ.บางกรวยไทรน้อย ต.บางรักพัฒนา อ.บางบัวทอง จ.นนทบุรี 11110
กำลังศึกษาอยู่ที่   มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต   คณะวิทยาการจัดการ 
                        หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต   สาขาวิชาคอมพิวเตอร์
                        ธุรกิจ  ชั้นปีที่ 3 

เบอร์โทร 081-018-6127
E-mail Yuki_Song01063@hotmail.com,u51132792118@gmail.com